24/10/55

แบบสอบถาม เป็นเครื่องมือสำคัญที่ใช้ในการวิจัย


แบบสอบถาม   เป็นเครื่องมือสำคัญที่ใช้ในการวิจัย   แบบสอบถามที่มีความเหมาะสมกับลักษณะของการวิจัยย่อมได้ข้อมูลที่ถูกต้อง   แต่ถ้าแบบสอบถามไม่มีความเหมาะสม   ข้อมูลที่รวบรวมได้ขาดความน่าเชื่อถือ   ดังนั้นผู้วิจัยจำเป็นต้องศึกษาความเหมาะสมของแบบถามแต่ละชนิดและเลือกใช้ให้เมาะสม   จอกจากนี้ลักษณะของคำถามก็มีความจำเป็นสำหรับแบบสอบถามอย่างยิ่ง   ผู้ตอบแบบสอบถามจะสามารถเข้าใจและตอบแบบสอบถามตรงประเด็นอย่างที่ออกแบบสอบถามต้องการหรือไม่   ขึ้นอยู่กับการเลือกใช้คำถามที่สามารถสื่อถึงความต้องการของผู้สร้างแบบสอบถามได้อย่างชัดเจนและครอบคลุมเนื้อหาที่ต้อการเพียงใดเป็นสำคัญ   ซึ่งจะต้องคำนึงถึงกลุ่มเป้าหมาย   พื้นฐานการศึกษาวุฒิภาวะ สถานะทางสังคม ตลอดจนอาชีพการงานให้ละเอียดรอบด้านด้วย




          การสร้างแบบสอบถามที่ดีมีหลักเกณฑ์ทางวิชาการอยู่หลายขั้นตอนสามารถหาอ่านและทำความเข้าใจได้จากหลายหลากตำราทั่วไป   แต่นอกเหนือตำราเหล่านั้นยังมีสิ่งที่สำคัญ ก็คือความเหมาะสมในการส้รางคำถามหรือตั้งคำถาม เพราะถือว่าเป็นมารยาททางสังคมและการให้เกียรติกันระหว่างผู้ให้ข้อมูลและผู้ต้องการข้อมูลที่ควรคำนึงถึง

คำถามที่ควรนำมาใช้และควรหลี่กเลี่ยงในแบบสอบถาม   มีดังนี้

           1)   การใช้คำถามนำและคำถามที่มีอิทธิพล   ทั้งนี้เพราะคำถามนั้นอาจจะมีอิทธิพลทำให้คำตอบเกิดความเอนเอียงไปทางด้านใดด้านหนึ่ง   ทำให้ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดได้หรือเสียผลประโยชน์   คำถามที่ใช้จึงควรเป็นคำถามกลางๆ ให้มากที่สุด

           2)   คำถามนั้นไม่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่สำรวจ   และไม่รู้จะนำมาใช้ประโยชน์อะไร

           3)   คำถามที่มีลักษณะส่อเสียด ยุยง เสี้ยมสอนให้แตกแยกไปทางใดทางหนึ่ง

           4)   คำถามที่ก่อให้เกิดความอับอาย เสื่อมศักดิ์ศรี หรือทำให้ผู้ตอบได้รับเกียรติภูมิต่ำลง เช่น ท่านเคยได้รับการลงโทษจากการปฏิบัติการหรือไม่ เมื่อไร

           5)   คำถามที่คนทั้งหลายอยู่แล้ว   ได้คำตอบมาก็ไม่เกิดผลประโยชน์เพิ่มขึ้น   เป็นการเปลือกเวลาและผู้ตอบจะรู้สึกว่าร่างแบบสอบถามไม่เป็น

           6)   คำถามที่ทำให้ผู้ตอบตกอยู่ในภาวะอึดอัดใจ หรือรู้ว่าอาจเป็นการผิด ไม่แน่ใจ ถ้าจำเป็นต้องถามควรมีที่ว่างเว้นไว้ หรือคำตอบ “ไม่แน่ใจ” หรือ “ไม่ตอบ” ไว้ให้ผู้ตอบเลือกตอบ

          7)   คำถามที่ยาก    อ่านแล้วไม่เข้าใจความหมาย หรือช่วงของคำตอบย้อนเวลานาน

           8)   คำถามที่มีลักษณะเน้นหนักไปทางใดทางหนึ่ง หรือโน้มน้าวให้คล้อยตามผู้ร่างแบบสอบถาม

           9)   คำถามที่แง่มุม กำกวม มีความหมายหลายอย่างทำให้ผู้ตอบเข้าใจผิดได้

           10)   คำถามที่ปฏิเสธซ้อนปฏิเสธ เข้าใจลำบาก เช่น ท่านมิได้สนใจที่จะไม่เป็นสมาชิกที่ท่านมิได้ร่วมก่อตั้งสมาคมด้วยหรือไม่

           การดำเนินการสำรวจหรือวิจัยใดๆ ที่มีผลต่อบุคคลที่ไม่ว่าจะเป็นทางร่างกายหรือจิตใจ นับว่าเป็นเรื่องที่อ่อนไหวและเป็นส่วนตัว   ดังนั้นจึงต้องมีความระมัดระวังในการเลือกใช้คำถามในการสร้างแบบสอบถามหล่านั้น   เพราะการตีความเข้าในความมหายของประโยคคำถามที่ผิดเพี้ยนย่อมส่งผลกระทบต่อความคลาดเคลื่อนของผลวิเคราะห์  และผิดความตั้งใจ   ตลอดจนวัตถุประสงค์ของการทำสำรวจหรือวิจัยนั้นๆ ไปด้วย


https://www.facebook.com/surveycan
http://www.surveycan.com/
02-583-9992 # 1535
บริษัท ลิทเทิล บิ๊ก ลิ้งค์ส จำกัด
99/31 ม.4 อาคารซอฟแวร์ปาร์ค  ชั้น 5  ต.ปากเกร็ด อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี 11120